สามมิติแบบสองภาพเคียงกัน (Side-by-Side) ของ ระบบภาพสามมิติ

แผ่นภาพคู่ หรือ สเตอริโอการ์ด สำหรับดูด้วยกล้องดูภาพสามมิติ หรือ สเตอริโอสโคป (stereoscope)

ระบบภาพสามมิติแบบเบื้องต้นที่สุด คือใช้ภาพ 2 มิติ สองภาพ โดยถ่ายวัตถุสิ่งของสถานที่เดียวกัน แต่เยื้องกล้องขณะถ่ายห่างออกไปเล็กน้อย (ประมาณ 3 นิ้ว) นำสองภาพที่ได้มาวางเคียงกัน แล้วใช้ตาแต่ละข้างมองสองภาพที่ต่างกัน ปรับระยะห่างให้เหมาะสมกับขนาดของภาพ สมองของเราจะนำสองภาพมารวมกัน แล้วแปรผลออกมาเป็นภาพเดียวที่มีมิติตื้นลึก เสมือนกับการที่สองตาของเรามองเห็นวัตถุจริงตามธรรมชาติ

ข้อดีของการใช้สองภาพเคียงกันแบบนี้ คือสะดวกในการผลิต แค่ใช้ภาพสองภาพวางเคียงกัน ก็สามารถดูได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย (Free Viewing) เพียงแค่ปรับลักษณะการดูของดวงตาสองข้าง และวางระยะห่างของภาพให้เหมาะสม, สามารถใช้ภาพถ่ายแบบสีสันสมจริงได้

ส่วนข้อเสียคือ ภาพที่นำมาใช้ดู จะมีขนาดเล็ก ต้องปรับระยะการวางภาพห่างจากดวงตาให้เหมาะสม ไม่สามารถใช้ภาพวิวทิวทัศน์ขนาดใหญ่ๆ หรือมีรายละเอียดเยอะๆ ได้

ดูโดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วย (Free Viewing)

คือการดูภาพสามมิติ จากภาพสองมิติ 2 ภาพ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือใดใด แล้วสมองจะรวมเป็นภาพเดียวกันแบบมีมิติตื้นลึก วิธีการดูโดยทั่วไปมีสองแบบ คือ ดูแบบตาขนาน (The parallel viewing) ภาพ 2 ภาพวางขนานตรงกับตาแต่ละข้าง หรือ ดูแบบไขว้ตา (The cross-eyed viewing) คือภาพซ้ายให้ดูด้วยตาขวา และภาพขวาให้ดูด้วยตาซ้าย

ภาพออโต้สเตอริโอแกรม (AutoStereogram)

ภาพสเตอริโอแกรม ชนิดใช้จุดมั่ว ดูได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นใด แต่ต้องฝึกปรับดวงตาให้แยกการมองฝั่งซ้าย และฝั่งขวา และวางภาพห่างจากสายตาในระยะที่เหมาะสม ในภาพนี้คือ ปลาฉลาม (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

คือภาพสเตอริโอแกรมรวมเป็นภาพเดียว (single-image stereogram (SIS)) หรือภาพสามมิติในตัว มีลักษณะเป็นภาพสองมิติภาพเดียวที่เมื่อดูแบบปกติ จะเห็นเป็นภาพที่ประกอบจุดสีมั่ว (Random Dot) เปรอะๆ ไปทั้งผืน ดูไม่รู้เรื่อง อย่างกับภาพนามธรรม (abstract) หรือเป็นลวดลายแพทเทิร์นสองมิติซ้ำๆ แต่เมื่อมีการฝึกการมองแบบตาขนาน โดยเริ่มจากปรับระยะโฟกัสของสายตาให้มองไปยังจุดที่ไกลที่สุด หรืออินฟินนิตี้ คงตำแหน่งลูกตาไว้ แล้วดูภาพออโต้สเตอริโอแกรม โดยตาซ้ายจะเห็นภาพซีกซ้าย ตาขวาจะเห็นภาพซีกขวา แล้วปรับเลื่อนระยะภาพ จนเริ่มเห็นจุดสีเลอะๆ ผสานรวมตัวกัน แปรเป็นภาพวัตถุบางอย่าง ลอยอยู่ท่ามกลางพื้นหลัง มีมิติตื้นลึก

ภาพสามมิติแบบออโต้สเตอริโอแกรม เคยฮิตมากในเมืองไทยระยะหนึ่ง ราวช่วงปีพ.ศ. 2534-2537 โดยแรกๆ เป็นบทความในนิตยสารด้านวิทยาศาสตร์-ความรู้ และมีพิมพ์เป็นภาพแถมในนิตยสาร และฮิตมากถึงกับมีการพิมพ์ภาพออโต้สเตอริโอแกรมโดยเฉพาะทั้งเล่ม ออกขายเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง คนทั่วไปนิยมซื้อมาเล่นสนุกเพื่อฝึกดูภาพสามมิติปริศนาที่ซ่อนอยู่ภายใต้จุดสีเปรอะๆ เหล่านั้น ในหนังสือรวมภาพออโต้สเตอริโอแกรมหลายๆ เล่มจะพิมพ์ จุดสองจุด ไว้ใต้ล่าง เพื่อให้ฝึกปรับสายตาก่อน แล้วเลื่อนภาพสามมิติลงมาดู จะช่วยให้เร็วขึ้น

ภาพออโต้สเตอริโอแกรม มีสองชนิด คือ แบบตาขนานตรง หรือ วอลล์-อายด์ (wall-eyed) และ แบบไขว้ตา หรือ ครอส-อายด์ (cross-eyed) และต้องดูภาพที่ทำขึ้นมารองรับการดูแต่ละแบบโดยตรง

แผ่นภาพคู่สามมิติ และอุปกรณ์ดูภาพสามมิติ

ภาพพระบรมฉายาลักษณ์แบบสเตอริโอสโคปิค หรือ แบบถ้ามอง ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พร้อมพระราชโอรสอีก 9 พระองค์ ที่ฉายโดย เอฟ. เจเกอร์ พ.ศ. 2404 (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่) กล้องสเตอริโอสโคปแบบพับเก็บ ของ ไซส์ (Zeiss) กล้องสเตอริโอสโคปยอดนิยมในศตวรรษที่ 19 ของ โฮล์มส (Holmes)

แผ่นการ์ดภาพคู่สามมิติ หรือ สเตอริโอสโคปิกการ์ด (Stereoscopic cards) และ กล้องถ้ำมอง หรือ กล้องดูภาพสามมิติ หรือ สเตอริโอสโคป (Stereoscope)

แผ่นภาพสเตอริโอสโคปิก คือการใช้ภาพถ่ายสองมิติ 2 ภาพ วางชิดเคียงกัน โดยเป็นภาพที่ถ่ายวัตถุสิ่งของสถานที่เดียวกัน แต่ถ่ายด้วยมุมที่เยื้องต่างกันเล็กน้อย ภาพซ้ายดูด้วยตาซ้าย ส่วนภาพขวาดูด้วยตาขวา การดูมักดูผ่านกล้องถ้ำมอง หรือกล้องสเตอริโอสโคป โดยจัดวางภาพให้ห่างจากเลนส์ตาในระยะที่เหมาะสม ตามขนาดของภาพถ่าย กล้องสเตอริโอสโคปรุ่นแรกๆ จะเป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ใช้กับภาพคู่ที่มีขนาดเล็ก ไม่ใหญ่มาก หากต้องการดูภาพที่มีขนาดใหญ่ มีรายละเอียดมากขึ้น ต้องใช้กล้องสเตอริโอสโคปแบบสะท้อนภาพด้วยกระจก

กล้องดูสไลด์ (Transparency viewers)

กล้องวิว-มาสเตอร์ โมเดล L สีแดง ปุ่มกลม ของบริษัท GAF

คือ กล้องดูแผ่นใส หรือภาพถ่ายบนกระจกใส หรือ ฟิล์มโพสิทีฟ หรือที่นิยมเรียกว่า ฟิล์มสไลด์ กล้องสามมิติชนิดนี้มีมาตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1850 (ราวปี พ.ศ. 2383) ซึ่งใช้ดู ภาพถ่ายบนกระจกใส ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ก็เปลี่ยนมาใช้แผ่นใส หรือฟิล์มสไลด์ ซึ่งเบา และเหนียวทนทานกว่ากระจก ส่วนยี่ห้อกล้องยอดนิยมเป็นที่รู้จักทั่วไป ได้แก่ ทรู-วิว (Tru-Vue) เริ่มมีในปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) และ กล้องวิวมาสเตอร์ หรือ วิว-มาสเตอร์ (View-Master) เริ่มมีในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)

ชุดอุปกรณ์สวมศีรษะ (Head-mounted displays)

บางครั้งเรียก กล้องวีอาร์ (VR)


ระบบแสดงผลบนประสาทตาแบบเสมือน (Virtual retinal displays)

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

ระบบภาพสามมิติ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด ระบบภูมิรัฐศาสตร์ ระบบสุริยะ ระบบประสาทรับความรู้สึก ระบบการทรงตัว ระบบประสาทรับความรู้สึกทางกาย ระบบรู้กลิ่น